ไขข้อสงสัย ไฟฟ้ามาจากไหน เสียบปลั๊กแล้วไฟติดเองได้เลยเหรอ!?

เหตุใดไฟฟ้าจึงติด ไฟฟ้ามาจากไหนกันนะ วันนี้เซฟไทยมีคำตอบมาบอกแล้วว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำงานได้นั้นเกิดจากแหล่งพลังงานที่ไหนบ้าง

ไขข้อสงสัย ไฟฟ้ามาจากไหน

SHARES

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on linkedin

เคยสงสัยไหมเหตุใดเครื่องใช้ไฟฟ้าจึงทำงานได้ แล้วไฟฟ้ามาจากไหนกันล่ะ? ไม่ว่าจะเป็นตู้เย็น พัดลม ทีวี คอมพิวเตอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่น ๆ ล้วนอาศัยกระแสไฟฟ้าทั้งสิ้น หากวันใดวันหนึ่งเราไม่มีพลังงานไฟฟ้าใช้ขึ้นมา เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ก็คงจะไม่สามารถอำนวยความสะดวกให้กับเราได้ แบบนี้เซฟไทยจะพาไปดูคำตอบกันว่าจริง ๆ แล้วไฟฟ้ามาจากไหน

 

ไฟฟ้าเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานอื่นได้หลายรูปแบบ เช่น พลังงานความร้อน พลังงานกล พลังงานแสงสว่าง พลังงานเสียง ไฟฟ้าจะทำงานได้เมื่อนำมาใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ที่เรามักใช้กันในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น เสียบปลั๊กพัดลมแล้วใบพัดหมุน กดเปิดสวิตช์แล้วหลอดไฟสว่าง เสียบปลั๊กเตารีดแล้วได้ความร้อน เห็นไหมล่ะ…ว่า ‘ไฟฟ้า’ ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด แต่ทว่าแล้วไฟฟ้ามาจากไหน? มาจากปลั๊กที่เราเสียบเหรอ หรือมาจากสวิตช์ที่เรากด ตามไปดูคำตอบกันเลยว่าไฟฟ้ามาจากไหน

ไฟฟ้ามาจากไหนได้บ้าง

ไฟฟ้ามาจากไหน?

แน่นอนว่ามาจาก โรงไฟฟ้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้า โดยไฟฟ้าจะถูกส่งต่อไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในครัวเรือนได้ผ่านทางสายไฟ หรือจะสังเกตง่าย ๆ ก็ลองเดินออกมาที่หน้าบ้านของตัวเองดูสิ ซึ่งจะเห็นเสาไฟที่มีสายไฟพาดอยู่ข้างบนนั่นเอง (แต่บางพื้นที่ก็เริ่มมีการนำสายไฟลงดินแล้ว เพื่อความปลอดภัยและความสวยงามของพื้นที่) เมื่อเรานำเต้าเสียบของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มี 2 ขา หรือ 3 ขา เสียบเข้ากับเต้ารับที่ติดอยู่กับผนัง เพียงเท่านี้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้านก็จะทำงานได้แล้ว

ไฟฟ้ามาจากไหนได้บ้าง

เราก็ได้รู้กันไปแล้วว่าไฟฟ้ามาจากไหน แต่รู้หรือไม่ว่า…เราสามารถผลิตไฟฟ้าได้หลากหลายวิธีเลยนะ ไม่แน่ว่าไฟฟ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันนั้นอาจจะมาจาก เขื่อนกั้นน้ำ โรงงานเผาเชื้อเพลิง แบตเตอรี หรือแผงโซลาร์เซลล์ก็ได้ เห็นไหมว่าแหล่งพลังงานที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้ามาได้จากหลายที่เลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น

  • แหล่งน้ำอย่างเขื่อนกักเก็บน้ำ

    เป็นแหล่งพลังงานที่นำมาใช้ผลิตไฟฟ้า โดยใช้พลังงานจากน้ำที่ไหลมาจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ โดยจะถูกติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า ‘ไดนาโม’ เมื่อน้ำไหลผ่านก็จะเกิดการรวมตัวของประจุไฟฟ้า จนเกิดเป็นกระแสไฟฟ้าส่งไปที่โรงเก็บไฟฟ้านั่นเอง

  • แสงอาทิตย์

    ก็ผลิตไฟฟ้าได้เช่นกัน โดยใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Module) เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า

  • โรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิง

    คือแหล่งผลิตส่วนใหญ่ที่ส่งไฟฟ้าให้เราใช้กันในทุกวันนี้ โดยใช้เชื้อเพลิงจากแหล่งพลังงานต่าง ๆ เช่น ชีวมวล, ถ่านหิน, แก๊สธรรมชาติ, น้ำมันดิบ เป็นต้น เพื่อทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงานได้

  • กังหันลมผลิตไฟฟ้า

    ลมจะเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ก็ต่อเมื่อลมพัดแรงพอและสม่ำเสมอ เพื่อให้กังหันลมหมุนผลิตไฟฟ้า

  • โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

    จะนำพลังงานความร้อนที่ปล่อยออกมาจากปฏิกิริยานิวเคลียร์มาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า

  • ความร้อนใต้พิภพ

    พลังงานธรรมชาติที่เกิดจากความร้อนที่ถูกกักเก็บอยู่ภายใต้ผิวโลก เป็นแหล่งพลังงานความร้อนที่สามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้

เมื่อรู้ถึงแหล่งกำเนิดไฟฟ้าว่าไฟฟ้ามาจากไหนแล้ว อีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ต้องรู้เลยก็คือ การต่อวงจรเครื่องใช้ไฟฟ้า หากกระแสไฟฟ้าวิ่งไม่ครบวงจรแล้วล่ะก็…ไฟไม่ติดแน่นอน เครื่องใช้ไฟฟ้าก็จะไม่ทำงานนั่นเอง ซึ่งการต่อวงจรภายในบ้านก็ถูกประยุกต์การใช้งานโดยมีสวิตช์เป็นส่วนหนึ่งของวงจร

การต่อวงจรเครื่องใช้ไฟฟ้า สามารถต่อได้ 2 แบบ ได้แก่

การต่อวงจรเครื่องใช้ไฟฟ้า

  • การต่อวงจรแบบอนุกรม

    ลองนึกถึงปลั๊กพ่วงที่มีเต้ารับหลายรู แต่มีสวิตช์อันเดียว เมื่อกดปิดสวิตช์แล้วเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่อสายอยู่ก็จะดับลงทั้งหมด

  • การต่อวงจรแบบขนาน

    ให้นึกถึงปลั๊กพ่วงที่มีเต้ารับหลายรู และมีสวิตช์ควบคุมของรูนั้นโดยเฉพาะ หากกดสวิตช์อันไหนก็จะเป็นการควบคุมให้เปิด/ปิด ได้นั่นเอง เป็นการต่อวงจรที่คร่อมไปมา ทำให้กระแสไฟฟ้าสามารถไหลไปได้อีกทางหนึ่งและกระแสไฟวิ่งได้ครบวงจรเช่นกัน

 

ทั้งหมดนี้ก็ทำให้เรารู้แล้วว่าไฟฟ้ามาจากไหน ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้านที่ทำงานเพื่ออำนวยความสะดวกให้เราได้นั้นล้วนต้องอาศัยไฟฟ้าทั้งสิ้น แต่ทั้งนี้ ‘ไฟฟ้า’ จะเกิดได้ทั้งประโยชน์และอันตราย หากใช้ไฟฟ้าอย่างประมาทหรือไม่ถูกวิธี ทางเซฟไทยมี 10 วิธีใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย ห่างไกลภัยน่ากังวล มาฝากแล้ว

 

ที่มา:

ThaiPBS

Scimath

กองทุนพัฒนาไฟฟ้า

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับคุกกี้ทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก