ควรรู้ ค่า FT คืออะไร ทำไมต้องเสียค่าไฟเพิ่ม ทั้งที่ใช้เท่าเดิม

ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ ‘ค่า FT’ ที่อยู่ในบิลค่าไฟคืออะไร สำคัญต่อการชำระค่าไฟอย่างไร มาทำความรู้จักไปพร้อมกัน

ค่า FT คืออะไร

SHARES

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on linkedin

หลายคนคงจะรู้ข่าวที่ค่า FT (ค่าเอฟที) ถูกปรับให้สูงขึ้น ส่งผลให้ค่าไฟขึ้นตามไปด้วยโดยปริยาย ซึ่งบิลค่าไฟฟ้าที่ทางการไฟฟ้าเรียกเก็บจากผู้ใช้งาน ไม่ได้มีเพียงปริมาณการใช้ไฟฟ้าของเราเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่นด้วย เช่น ค่า FT นั่นเอง วันนี้ทางเซฟไทยเลยจะพาทุกคนไปดูกันว่าในบิลค่าไฟนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง พร้อมรู้จักกับค่า FT ว่าคำนวณจากอะไร และมีความสำคัญอย่างไร

ค่า FT บิลค่าไฟ

บิลค่าไฟฟ้า 1 ใบ ประกอบด้วยอะไรบ้าง?

ค่าไฟที่เราต้องจ่ายกันอยู่ทุกเดือนตามที่บิลแสดงนั้น เคยสังเกตกันไหมว่ามันประกอบด้วยอะไรบ้าง ซึ่งหลัก ๆ แล้วมีอยู่ 3 ส่วนด้วยกัน คือ

  1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ใช้ไฟฟ้า

ส่วนนี้จะเป็นข้อมูลของผู้ใช้ไฟฟ้า ประกอบด้วย ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า วันและเวลาที่วัดหน่วยไฟฟ้า และบอกว่าบิลนี้เป็นของเดือนไหน

  1. ข้อมูลประวัติการใช้ไฟฟ้า

ส่วนถัดมาจะแสดงข้อมูลการใช้ไฟฟ้าว่าเลขที่วัดได้จากครั้งก่อน – หลังได้เท่าไหร่ จำนวนหน่วยไฟฟ้าที่เราใช้ไปในเดือนนั้น ๆ เท่ากับเท่าไหร่

  1. รายละเอียดค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บ

ค่าพลังงานไฟฟ้า – หรือค่าไฟฟ้าฐาน ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ระบบสายส่ง สายจำหน่าย และค่าการผลิตไฟฟ้า ซึ่งจะคำนวณตามประเภทผู้ใช้งาน ดังนี้

ประเภทที่ 1      บ้านอยู่อาศัย

ประเภทที่ 2      กิจการขนาดเล็ก

ประเภทที่ 3      กิจการขนาดกลาง

ประเภทที่ 4      กิจการขนาดใหญ่

ประเภทที่ 5      กิจการเฉพาะอย่าง

ประเภทที่ 6      องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร

ประเภทที่ 7      กิจการสูบน้ำเพื่อการเกษตร

ประเภทที่ 8      ไฟฟ้าชั่วคราว

ค่าบริการรายเดือน – ค่าใช้จ่ายในการจดหน่วยไฟฟ้า ค่าจัดทำและจัดส่งบิลค่าไฟฟ้า การรับชำระเงินค่าไฟฟ้า และงานบริการลูกค้า โดยมีการเรียกเก็บมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543

ค่า FT – ปัจจุบันย่อมาจาก ‘Fuel Adjustment Charge (at the given time)’ เป็นต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า (น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา ก๊าซธรรมชาติ ลิกไนต์) รวมไปถึงค่าซื้อไฟฟ้าจากเอกชนหรือประเทศเพื่อนบ้าน และค่าใช้จ่ายที่การไฟฟ้าไม่สามารถควบคุมได้ มีการปรับทุก 4 เดือน เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของต้นทุน โปร่งใสกับผู้ใช้ไฟฟ้า ส่งผลให้ค่าไฟขยับเพิ่ม-ลดตามค่า FT นั่นเอง

ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% – เรียกเก็บตามที่กฎหมายกำหนด

ค่า FT’

โดยค่า FT หรือค่าไฟฟ้าผันแปรจะมีการเก็บข้อมูลและปรับทุก 4 เดือน ซึ่งจะคำนวณจากการเปลี่ยนแปลงของค่าเชื้อเพลิงที่นำมาใช้ผลิตไฟฟ้าและค่าความพร้อมจ่าย

  • ค่าเชื้อเพลิง แปรผันตามสถานการณ์ เนื่องจากประเทศไทยต้องพึ่งพาอาศัยเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ จึงส่งผลให้ค่าเชื้อเพลิงที่นำเข้ามานั้นไม่คงที่ สรุปง่าย ๆ ก็คือ ค่า FT จะเปลี่ยนแปลงมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับค่าเชื้อเพลิงนั่นเอง
  • ค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payment: AP) เป็นค่าของการสำรองไฟฟ้า โดยเกิดจากการคาดการณ์ว่าเราจะใช้ไฟฟ้ากี่เมกะวัตต์ (MW) คำนวณจากประวัติการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย ซึ่งเคยมียอดใช้สูงสุด (Peak) อยู่ที่ 24,050 MW แต่กำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งประเทศนั้นมีค่าความแตกต่างอยู่ 22,046 MW แต่โดยปกติแล้วการสำรองไฟฟ้าจะสำรองไว้มากกว่าความต้องการสูงสุดที่ 15% และการสำรองไฟฟ้าที่มากเกินไปแต่ไม่ได้ใช้จริงตรงนี้แหละคือค่าไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการไม่ได้ใช้ไฟฟ้า (Take or Pay) ที่จะถูกเรียกเก็บมาในบิลค่าไฟด้วย ถึงแม้จะไม่มีการจ่ายไฟฟ้าจริงก็ตาม
    สถานการณ์สมมติ
    พ่อ : อยากติดแผงโซลาร์เซลล์ที่บ้านจัง น่าจะช่วยประหยัดค่าไฟไปได้เยอะ
    แม่ : ติดเลยสิพ่อ น่าจะได้ใช้อยู่นะ บ้านเราใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเยอะอยู่
    – หลังจากติดโซลาร์เซลล์ไปแล้ว 3 เดือน –
    พ่อ : เอ๊ะ! ทำไมค่าไฟก็เท่าเดิมเลยนะ ทั้งที่ติดโซลาร์เซลล์ไปแล้วนี่
    แม่ : ก็เพราะว่าช่วงนี้เราอยู่บ้านแค่ช่วงกลางคืนไง เลยไม่ได้ใช้พลังงานจากมันเลย ไว้ช่วงไหนอยู่บ้านตอนกลางวันคงจะได้ใช้แหละ

สรุป – เป็นการคาดการณ์ว่าจะได้ใช้พลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์ แต่ถึงเวลาจริงกลับไม่ได้ใช้ ซึ่งเราได้จ่ายค่าติดแผงไปแล้วนั่นเอง

ค่า FT สำคัญอย่างไร?

ค่า FT สามารถสะท้องถึงต้นทุนของเชื้อเพลิงตามสถานการณ์จริง ซึ่งจะมีการประกาศล่วงหน้าประมาณ 4 เดือน ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าทราบก่อน และหลังจากนั้น 3 เดือน จะทำการดูตัวเลขของค่า FT เพื่อทบทวนพิจารณาการปรับเพิ่ม-ลดค่า FT ในรอบถัดไป โดยจะเป็นโปร่งใสเพราะมีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นผู้กำกับดูแลตรวจสอบ

ดังนั้น ค่า FT จึงเป็นตัวปรับค่าไฟฟ้าขึ้น-ลง ตามค่าเชื้อเพลิงที่แปรผันตามสถานการณ์นั่นเอง เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างเรารู้ล่วงหน้าว่าจะมีการปรับค่า FT ในรอบ 4 เดือน ก็จะทำให้สามารถประเมินอัตราค่าไฟฟ้าได้ก่อนและวางแผนปรับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าอย่างรู้คุณค่าได้เป็นอย่างดี

 

เซฟไทยหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคน เพราะอย่างไรก็ตาม ค่า FT ก็มีโอกาสที่จะปรับสูงขึ้น ส่งผลให้ค่าไฟขึ้นได้อีกเช่นกัน โดยพวกเรานั้นสามารถประหยัดพลังงานได้ง่าย ๆ ด้วย วิธีประหยัดไฟให้สบายกระเป๋า เป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยลดค่าไฟ

 

ที่มา : PEA

greenpeace

ddproperty

urbancreature

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับคุกกี้ทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก