ตอบแล้ว! น้ำแอร์หยด อันตรายไหม พร้อมสาเหตุและวิธีแก้ ทำตามง่าย

รู้สาเหตุของน้ำแอร์หยด วิธีแก้ไขที่ทำได้เอง พร้อมไขข้อสงสัยว่าน้ำแอร์หยด อันตรายไหม สามารถเปิดใช้งานขณะที่น้ำยังหยดอยู่ได้หรือไม่

น้ำแอร์หยด

SHARES

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on linkedin

ถ้าตอนนี้ที่บ้านของคุณกำลังใช้ถังมารองน้ำแอร์หยดอยู่ล่ะก็…บทความนี้ทางเซฟไทยจะมาเจาะลึกถึงสาเหตุ และไขข้อสงสัยว่าน้ำแอร์หยด อันตรายไหม พร้อมวิธีแก้ไขเบื้องต้นที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง ช่วยให้เราแก้ไขปัญหาได้อย่างทันที แถมเซฟเงินในกระเป๋าได้อีกด้วย

แม้ว่าก่อนหน้านี้เวลาที่เราประสบปัญหาเกี่ยวกับน้ำแอร์หยด สิ่งแรกที่สงสัยคือน้ำแอร์หยด อันตรายไหม และต่อมาเราอาจจะรีบติดต่อช่างแอร์ผู้เชี่ยวชาญมาแก้ไขซ่อมแซมอย่างเร็วที่สุด แต่หลังจากที่ได้อ่านบทความนี้ บางทีคุณแทบจะสามารถสังเกตอาการและรู้สาเหตุของปัญหานี้จนจัดการแก้ไขมันได้อย่างคาดไม่ถึงด้วยตนเองเลยก็ได้ จะทำได้อย่างไรตามไปดูกันเลย

สาเหตุของน้ำแอร์หยด มีอะไรบ้าง

สาเหตุของน้ำแอร์หยด มีอะไรบ้าง

  1. น้ำแอร์หยดเพราะถาดน้ำทิ้งชำรุด

เมื่อสังเกตแล้วว่ามีน้ำแอร์หยด ลองตรวจสอบถาดรองน้ำทิ้งว่าชำรุด รั่ว แตกหักอยู่หรือเปล่า เพราะถาดรองน้ำทิ้งจะรองรับน้ำเอาไว้ หากเกิดการรั่วซึมขึ้นมาจะทำให้น้ำแอร์หยดได้ รวมไปถึงถ้าแอร์มีฝุ่นตกค้างในเครื่องอยู่มากจนไปสะสมในถาด และไหลไปที่ท่อน้ำทิ้งของถาดก็จะส่งผลให้เกิดการอุดตัน ไม่สามารถระบายน้ำออกมาได้ แล้วต้องไหลย้อนกลับมาที่หน้าเครื่องและเกิดเป็นน้ำแอร์หยดได้นั่นเอง นอกจากนี้ควรต้องเช็กด้วยว่าถาดรองมีการเคลื่อนที่หรือติดตั้งอย่างเหมาะสมหรือไม่ เพราะนี่เองก็เป็นสาเหตุของน้ำแอร์หยดได้เช่นกัน

วิธีแก้ไข

– ก่อนจะถอดถาดน้ำทิ้งออกมา ควรสับเบรกเกอร์ลง เพื่อความปลอดภัย

– นำภาชนะมารองน้ำที่หยดเอาไว้ก่อน

– นำถาดรองน้ำออกมาทำความสะอาด และฉีดน้ำไล่ฝุ่นที่ท่อน้ำทิ้ง เพื่อไม่ให้อุดตัน

กรณีที่ทำความสะอาดแล้วยังมีน้ำแอร์หยดอยู่ ให้ตรวจสอบว่าถาดน้ำทิ้งมีรอยแตก รอยร้าว หรือชำรุดอยู่หรือไม่ ถ้ามีแนะนำให้เปลี่ยนใหม่ แต่ถ้าไม่มี ลองดูอีกครั้งว่าประกอบถาดน้ำทิ้งเข้าไปถูกต้องไหม ลงล็อกแน่นพอดีหรือยัง เพราะหากใส่ถาดไม่พอดี น้ำแอร์จะยังหยดอยู่เหมือนเดิม

ถ้าท่อน้ำทิ้งอุดตันก็น้ำแอร์หยดได้

  1. ถ้าท่อน้ำทิ้งอุดตันก็น้ำแอร์หยดได้

เมื่อเราใช้งานแอร์ไปสักพักและไม่มีการล้างแอร์เป็นประจำทุก 6 เดือน จะทำให้แอร์มีฝุ่นสะสมกันอยู่ที่ท่อน้ำทิ้งจนเกิดการอุดตัน และที่สำคัญถ้าเดินท่อน้ำทิ้งไว้ไม่ดี เช่น ท่อน้ำทิ้งยาวเกินไป การห่อหุ้มไม่ได้มาตรฐาน ก็สามารถส่งผลให้น้ำแอร์หยดได้ง่าย

วิธีแก้ไข

– ทำความสะอาดหรือเปลี่ยนท่อน้ำใหม่

– ล้างแอร์เป็นประจำทุก 6 เดือน

แผ่นกรองอากาศสกปรก ต้นเหตุของน้ำแอร์หยด

  1. แผ่นกรองอากาศสกปรก ต้นเหตุของน้ำแอร์หยด

ชิ้นส่วนสำคัญอย่างแผ่นกรองอากาศมักเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำแอร์หยด หากไม่ได้ทำการล้างแอร์อย่างเป็นประจำ เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่แผ่นกรองอากาศมีฝุ่นสะสมกันมากจนเกินไปจนเกิดการอุดตัน นอกจากจะส่งผลให้น้ำแอร์หยดแล้ว เรายังรู้สึกว่าแอร์ไม่เย็นได้ด้วย ซึ่งทั้งหมดเป็นผลมาจากการอุดตันจนน้ำไม่สามารถระบายออกมาได้ จนเกาะตัวเป็นน้ำแข็งอยู่ข้างใน และเมื่ออยู่ในอุณหภูมิห้อง น้ำแข็งจึงละลายเป็นหยดน้ำออกมานั่นเอง

วิธีแก้ไข

– ควรล้างแอร์เป็นประจำทุก 6 เดือน

น้ำยาแอร์ไม่เพียงพอก็ส่งผลให้น้ำแอร์หยดได้

  1. น้ำยาแอร์ไม่เพียงพอก็ส่งผลให้น้ำแอร์หยดได้

ไม่บ่อยนักที่สาเหตุของน้ำแอร์หยดจะมาจากการที่น้ำยาแอร์ไม่เพียงพอ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ หากเริ่มรู้สึกว่าแอร์ไม่เย็นหรือเย็นช้าลง โดยสังเกตได้จากพัดลมของคอยล์ร้อนนอกห้อง ถ้ามีลมร้อนออกมา หมายความว่า อยู่ในระดับปกติ แต่ถ้าเป็นลมปกติ ไม่มีลมอุ่น/ร้อน แสดงว่า น้ำยาแอร์ไม่เพียงพอ

วิธีแก้ไข

– เติมน้ำยาแอร์ โดยทั่วไปน้ำยาแอร์มี 3 ประเภท ได้แก่ R22 สารทำความเย็นรุ่นเก่า ใช้กับเครื่องปรับอากาศในบ้านทั่วไป, R32 สารทำความเย็นที่ไม่ทำลายโอโซน ลดโลกร้อน และ R410A สารทำความเย็นรุ่นใหม่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยประหยัดพลังงาน

– การเติมน้ำยาแอร์สามารถแก้ไขได้เพียงเบื้องต้น ซึ่งแนะนำให้ปรึกษาช่างแอร์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบว่ามีรอยรั่วซึมของน้ำยาแอร์หรือไม่

น้ำแอร์หยดอาจมาจากจุดที่ติดตั้งแอร์ที่ไม่เหมาะสม

  1. น้ำแอร์หยดอาจมาจากจุดที่ติดตั้งแอร์ที่ไม่เหมาะสม

การติดตั้งแอร์ในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ได้มาตรฐานโดยช่างผู้ชำนาญ อาจมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดได้ เช่น การเดินท่อน้ำทิ้งยาวเกินไป ไม่ได้องศา เก็บงานพันเทปละเอียดไม่มากพอ เป็นต้น ซึ่งเราจะรู้ตัวอีกทีก็ติดตั้งเสร็จจนใช้งานไปแล้วสักระยะหนึ่ง

วิธีแก้ไข

– เลือกติดตั้งแอร์ในพื้นที่ที่เหมาะสม เลี่ยงบริเวณที่แสงแดดส่องทั้งวัน ประตูเข้า-ออก เป็นต้น

– หากติดตั้งแอร์ไปแล้วสามารแก้ไขด้วยการติดผ้าม่านหรือติดฟิล์มกันความร้อน ที่บริเวณมีแดดส่อง หน้าประตู

ไขข้อสงสัย น้ำแอร์หยด อันตรายไหม

ช่วงแรกที่น้ำแอร์หยดเชื่อว่าหลายคนคงแค่หงุดหงิดและปล่อยมันทิ้งไว้ แต่หากละเลยให้น้ำแอร์หยดต่อไปในระยะยาวจะส่งผลให้เกิดความเสียหายกับฝ้า เพดาน กำแพง ไปจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ มีโอกาสเสี่ยงเกิดไฟช็อตได้ด้วย จนในที่สุดแอร์ก็จะทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพจนต้องซ่อมแซมใหญ่โตหรือเปลี่ยนใหม่กันเลยทีเดียว ดังนั้น ปัญหาน้ำแอร์หยดจึงไม่ควรปล่อยเอาไว้เนิ่นนาน ควรรีบแก้ไขให้ไวที่สุด

น้ำแอร์หยดใช้ต่อได้ไหม

 

น้ำแอร์หยดแบบนี้จะเปิดแอร์ได้ไหม?

อย่างที่เรารู้กันว่าสาเหตุของน้ำแอร์หยดนั้นเกิดได้หลากหลายมาก หากไม่ได้เกิดจากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า เช่น รอเปลี่ยนถาดน้ำทิ้ง ก็สามารถเปิดแอร์ได้ตามปกติ เพียงแต่อย่าลืมเอาถังมารองน้ำที่หยดจากแอร์ด้วย ส่วนถ้าสาเหตุของน้ำแอร์หยดเป็นเรื่องระบบไฟฟ้า ควรงดการเปิดใช้งานไปก่อน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น แนะนำให้งดใช้งานแอร์ที่มีอาการน้ำหยดไปก่อนจะดีที่สุด เพราะการที่แอร์ทำงานขณะที่มีน้ำหยด เสี่ยงต่อโอกาสการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้

 

ได้รู้คำตอบกันไปแล้วว่าน้ำแอร์หยด อันตรายไหม พร้อมกับสาเหตุและวิธีแก้ไขฉบับเบื้องต้นที่สามารถทำได้เองก่อน แต่ถ้าหากลองทำตามดูแล้ว ยังไม่หายเป็นปกติ แนะนำให้ติดต่อช่างแอร์เพื่อเช็กปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างตรงจุด และที่สำคัญคือควรล้างแอร์อย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุก 6 เดือน จะช่วยป้องกันอาการน้ำแอร์หยด พร้อมดูแลรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพต่อไป

 

ที่มา: globalhouse

carrierthailand

apthai

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับคุกกี้ทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก