เมื่อเข้าสู่หน้าร้อนที่อากาศแทบทำเราละลาย เครื่องปรับอากาศกลายเป็นไอเทมจำเป็นสำหรับแทบทุกบ้าน วิธีการเลือกแอร์จึงไม่ใช่แค่เรื่องของราคาหรือดีไซน์เท่านั้น แต่ยังต้องเลือกให้เหมาะสมกับบ้าน เพราะมิฉะนั้นอาจทำให้ห้องไม่เย็น หรือค่าไฟพุ่งเกินจำเป็น วันนี้เซฟไทยมีเคล็ดลับวิธีเลือกแอร์อย่างชาญฉลาดที่จะช่วยให้หน้าร้อนนี้คุณได้เย็นฉ่ำชื่นใจแถมประหยัดไฟได้อีกด้วย
ประเภทของแอร์และวิธีเลือกแอร์ที่เหมาะกับการใช้งาน
หนึ่งในปัจจัยสำคัญของวิธีเลือกแอร์ให้เหมาะกับบ้าน คือการทำความเข้าใจว่าแอร์แต่ละประเภทมีข้อดี–ข้อเสียอย่างไร และเหมาะกับการใช้งานแบบไหน เพื่อที่จะใช้งานแอร์ได้ตรงประเภทมากที่สุด โดยทั่วไปแล้วแอร์สามารถแบ่งออกหลัก ๆ ได้ 4 ประเภท ได้แก่
-
แอร์ติดผนัง (Wall Type)
แอร์ติดผนังได้รับความนิยมอย่างมาก ด้วยขนาดที่กะทัดรัดและดีไซน์ทันสมัย นอกจากนี้ยังติดตั้งและดูแลรักษาง่าย เหมาะกับการใช้งานในห้องนอน ห้องนั่งเล่น หรือคอนโด อย่างไรก็ตาม วิธีเลือกแอร์ชนิดนี้ยังต้องคำนึงถึงขนาด BTU (British Thermal Unit) ที่เหมาะกับขนาดห้อง
-
แอร์แขวนใต้ฝ้า (Ceiling Type)
แอร์แขวนใต้ฝ้า เป็นแอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าแอร์ติดผนัง และสามารถกระจายลมได้ดีกว่า เหมาะสำหรับการใช้ในพื้นที่กว้างอย่างสำนักงานหรือโรงงาน เพราะช่วยกระจายความเย็นได้อย่างทั่วถึง แต่วิธีเลือกแอร์ประเภทนี้ควรพิจารณาพื้นที่และความสามารถในการรองรับน้ำหนักของฝ้าเพดาน
-
แอร์ฝังเพดาน (Duct Connected Type)
แอร์ฝังเพดาน เป็นแอร์ที่มีระบบท่อลมเปลือยซ่อนอยู่ในกำแพงหรือฝ้า ทำให้ไม่บดบังพื้นที่ใช้สอยและช่วยรักษาความสวยงามของห้อง เหมาะสำหรับสถานที่ที่ต้องการดีไซน์เรียบหรู ไม่เห็นตัวท่อแอร์ วิธีเลือกแอร์ประเภทนี้ควรพิจารณาความเหมาะสมของโครงสร้างฝ้าเพดานและระบบระบายอากาศควบคู่ไปด้วย
-
แอร์แบบ 4 ทิศทาง (4 Ways Ceiling Cassette Type)
แอร์แบบ 4 ทิศทาง เป็นแอร์ขนาดใหญ่ที่ติดตั้งบนฝ้าเพดานและมีช่องปล่อยลม 4 ทิศทาง ช่วยกระจายความเย็นได้ไกลและทั่วถึง เหมาะสำหรับพื้นที่กว้าง เช่น โถงขนาดใหญ่ โรงแรม หรือร้านอาหาร วิธีเลือกแอร์ประเภทนี้ต้องคำนึงถึงความสูงของเพดานและกำลังลมของเครื่อง เพื่อกระจายความเย็นได้อย่างทั่วถึง
วิธีเลือกแอร์ที่มี BTU เหมาะกับขนาดห้อง
BTU (British Thermal Unit) คือหน่วยวัดปริมาณความร้อนของเครื่องปรับอากาศ ซึ่งหมายถึงความสามารถในการถ่ายเทความร้อนออกจากห้องภายใน 1 ชั่วโมง หากเลือกแอร์ที่มีขนาดต่ำเกินไป เครื่องจะต้องทำงานหนักตลอดเวลา ส่งผลให้สิ้นเปลืองพลังงานและอายุการใช้งานสั้นลง แต่ในทางกลับกัน การเลือกแอร์ที่มีขนาด BTU สูงเกินไปก็จะทำให้สิ้นเปลืองพลังงานโดยไม่จำเป็น ดังนั้น BTU จึงเป็นหนึ่งหลักเกณฑ์สำคัญของวิธีเลือกแอร์ เนื่องจากการเลือกขนาดแอร์ที่เหมาะสมกับขนาดห้อง จะช่วยให้แอร์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพและยังประหยัดพลังงานอีกด้วย
โดยวิธีเลือกแอร์ที่มีค่า BTU เหมาะสมกับขนาดห้อง สามารถคำนวณได้จากสูตรดังนี้
ค่า BTU = พื้นที่ห้อง [กว้าง(เมตร) x ยาว(เมตร)] x ค่าตัวแปร
โดยค่าตัวแปรจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น การรับแสงแดด ความสูงของเพดาน และจำนวนคนในห้อง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
- ค่าตัวแปร 700-800 สำหรับห้องที่โดนแดดน้อย เช่น ห้องนอน หรือห้องที่ใช้แอร์เฉพาะกลางคืน
- ค่าตัวแปร 800-900 สำหรับห้องที่มีความร้อนปานกลาง เช่น ห้องรับแขก ห้องที่โดนแดดมาก หรือเปิดแอร์ช่วงกลางวัน
- ค่าตัวแปร 900-1000 สำหรับห้องที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าเยอะหรือความร้อนสูง เช่น ห้องทำงาน หรือห้องออกกำลังกาย
- ค่าตัวแปร 1000-1200 สำหรับพื้นที่ที่มีคนอยู่เยอะ เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร หรือสำนักงาน
ทั้งนี้ หากห้องมีเพดานสูงเกิน 2.5 เมตร หรือมีคนอยู่มากกว่า 3 คน ให้เพิ่ม BTU เพิ่มประมาณ 5%
ตัวอย่างการคำนวณค่า BTU
ห้องนอนขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 4 เมตร ควรใช้แอร์ที่มีขนาด BTU เท่าไหร่
ค่า BTU = 5 X 4 X 800 = 16,000 BTU
วิธีเลือกแอร์ที่ถูกต้อง ต้องได้มาตรฐาน
วิธีเลือกแอร์ที่มีการรับรองมาตรฐานเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ใช้งานเครื่องปรับอากาศได้อย่างคุ้มค่าและใช้งานได้อย่างยาวนาน โดยควรเลือกแอร์ที่ได้มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เนื่องจากเป็นเครื่องหมายที่รับรองประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงาน รวมถึง ควรเลือกแอร์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานต่าง ๆ เช่น มอก., CE, JIS หรือ ISO เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยในการใช้งานในระยะยาว
นอกจากนี้ ยังควรพิจารณาค่า EER (Energy Efficiency Ratio) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความสามารถของแอร์ในการทำความเย็นเทียบกับพลังงานที่ใช้ และค่า SEER (Seasonal Energy Efficiency Ratio) จะเป็นตัววัดประสิทธิภาพการใช้พลังงานตามสภาพอากาศภายนอก โดยแอร์ที่ยิ่งมีค่า EER และ SEER สูงจะยิ่งช่วยลดการใช้ไฟฟ้าและมีประสิทธิภาพการทำงานเป็นอย่างดี
วิธีเลือกแอร์จากคุณสมบัติเฉพาะ
แอร์สมัยใหม่ไม่ได้มีเพียงแต่ระบบทำความเย็นเท่านั้น แต่ยังมาพร้อมระบบฟีเจอร์หลากหลายซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในวิธีเลือกแอร์ที่เหมาะกับตัวคุณ เพื่อให้การใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น เช่น
- ระบบอินเวอร์เตอร์ ที่จะลดการทำงานของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้อุณหภูมิภายในห้องคงที่ จึงทำให้แอร์มีเสียงเบาและลดปัญหาการเกิดไฟกระชากอีกด้วย
- ระบบเซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว ที่จะปรับอุณหภูมิให้สูงขึ้นเมื่อพบว่าไม่มีผู้ใช้งาน และจะปรับอุณหภูมิให้ต่ำลง เมื่อตรวจพบการเคลื่อนไหว ซึ่งช่วยลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็น
- ระบบ Smart Control ที่จะควบคุมการทำงานผ่านต่าง ๆ แอปพลิเคชันได้ เช่น ตั้งเวลาเปิด-ปิดแอร์เวลาที่ไม่จำเป็น
- ระบบฟอกอากาศ ที่จะช่วยกำจัดฝุ่น แบคทีเรีย และไวรัสในอากาศ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่คนปัจจุบันกำลังเผชิญ เหมาะสำหรับบ้านที่มีเด็กเล็กหรือคนที่เป็นภูมิแพ้
วิธีเลือกแอร์ให้ตรงกับไลฟ์สไตล์
นอกเหนือจากคุณสมบัติเฉพาะของแอร์แล้ว วิธีเลือกแอร์ให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน เพราะหากเลือกแอร์ได้อย่างเหมาะสมก็จะช่วยให้คุณได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุด ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้
-
บ้านที่มีเด็ก
สำหรับบ้านที่มีเด็ก วิธีเลือกแอร์ควรพิจารณาแอร์ที่มีเสียงเบา เพื่อไม่ให้รบกวนการนอน และแอร์ที่มีระบบฟอกอากาศ เพื่อช่วยกรองฝุ่นและสารพิษต่าง ๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเด็กได้
-
คนทำงานที่บ้าน
วิธีเลือกแอร์สำหรับคนทำงานที่บ้าน แนะนำให้เลือกแอร์ที่มีระบบอินเวอร์เตอร์ เนื่องจากช่วยปรับอุณหภูมิได้อัตโนมัติ สะดวกต่อการทำงานและช่วยประหยัดพลังงานได้อีกด้วย
-
คนที่เป็นภูมิแพ้
สำหรับคนที่เป็นภูมิแพ้ วิธีเลือกแอร์ที่ดีต่อสุขภาพคือควรเลือกแอร์ที่มีระบบฟอกอากาศที่ช่วยกรองฝุ่น
-
คนที่ให้ความสำคัญกับการออกแบบ
สำหรับคนที่ให้ความสำคัญกับการออกแบบหรือความหรูหรา วิธีเลือกแอร์อาจพิจารณาที่รูปลักษณ์ภายนอกซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกมากมาย หรือใช้แอร์แบบฝังเพดานซึ่งจะไม่เห็นท่ออากาศภายนอก
วิธีเลือกแอร์ที่เหมาะสมไม่เพียงแค่ช่วยให้บ้านเย็นสบาย แต่ยังช่วยประหยัดพลังงานและลดค่าไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพิจารณาความต้องการส่วนบุคคลและคุณสมบัติของแอร์อย่างละเอียด จะช่วยให้คุณเลือกแอร์ที่ตอบโจทย์มากที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาวอีกด้วย
ที่มา:
https://carrierthailand.com/carrier-article/choose-the-right-air-forsaving/
https://www.egat.co.th/home/save-energy-for-all-20220716/
https://tacsynergy.com/ดูบทความ-57867-วิธีเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ.html