หลายคนคงเคยเจอปัญหาที่ยืนมึนหน้าเต้ารับ เพราะเต้าเสียบที่เตรียมมาเข้ากันไม่ได้
ส่วนใหญ่เหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นเวลาไปต่างประเทศ
เพราะแต่ละประเทศก็มีประเภทของเต้าเสียบ / เต้ารับที่แตกต่างกันออกไป
ถ้าไม่ศึกษามาให้ดีคงต้องวิ่งวุ่นหาอแดปเตอร์แทบไม่ทัน
เซฟไทยจึงขอมาบอกความแตกต่างของเต้าเสียบทั่วโลก
จะมีรูปแบบไหนที่แปลกและแตกต่างจากไทยบ้าง มาดูกัน!
Type A 1
สำหรับประเภทแรกนั้น ถ้าไม่สังเกตให้ดีคงไม่เห็น แต่จริง ๆ แล้ว ขนาดเต้าเสียบของแต่ละข้างนั้นแบนและไม่เท่ากัน และยังไม่มีขาสำหรับสายดินอีกด้วย ส่วนมากนิยมใช้ในแถบอเมริกาเหนือ และกลาง จนมาถึงโซนเอเชียอย่างไต้หวัน ญี่ปุ่น หรือไทย
Type B 2
จะไม่ต่างจาก type A มากนัก สามารถแยกได้ง่ายโดยที่ type B จะมีขาที่ 3 เพิ่มมา หรือที่รู้จักกันว่า ‘ปลั๊กขาสายดิน’ และมีลักษณะกลม
Type C 3
ถูกใช้งานในประเทศไทยเช่นเดียวกัน ลักษณะมี 2 ขากลม นอกจากในไทยแล้วยังนิยมถูกใช้ใน จีน อินเดีย และเกาหลีใต้อีกด้วย
Type D 4
เป็นประเภทที่มีขากลมทั้งหมด 3 ขา ใช้ในฮ่องกงและอินเดีย เป็นต้น
Type E 5
คล้ายคลึงกับประเภท type C โดยมีลักษณะ 2 ขากลม และหากสังเกตดี ๆ ก็จะเห็นว่าบริเวณเต้ารับมีขาปลั๊กอยู่ข้างใน 1 ขาด้วย นิยมใช้ในหลายประเทศ เช่น โปแลนด์ ฝรั่งเศส และ เดนมาร์ก เป็นต้น
Type F 6
หลายคนอาจไม่คุ้นแต่ type F ก็ถูกใช้ในประเทศไทยด้วยเช่นกัน ลักษณะเต้าเสียบจะมี 2 ขากลม พร้อม 2 คลิปกราวน์ มักจะใช้ในเยอรมนี สเปน และอื่น ๆ
Type G 7
มีลักษณะเหลี่ยมแบนทั้ง 3 ขา ซึ่งไม่ถูกใช้ในประเทศไทยแต่จะเป็น อังกฤษ และสิงคโปร์ เป็นต้น
Type H 8
ปลั๊กชนิดนี้นอกจากจะมีลักษณะไม่เหมือนประเภทอื่นแล้ว ยังไม่มีประเทศไหนใช้นอกจากอิสราเอลอีกด้วย
Type I 9
มีลักษณะเหลี่ยมแบนทั้ง 3 ขา โดยที่ขา 2 ขาที่อยู่ในระนาบเดียวกันจะบิดเข้าหากัน นิยมใช้ใน ฟิจิ ปานามา และออสเตรเลีย เป็นต้น
Type J 10
มีลักษณะกรอบเต้ารับเป็นหกเหลี่ยมและมีขากลมทั้งหมด 3 ขา นิยมใช้ใน รวันดา สวิตเซอร์แลนด์ และมัลดีฟส์ เป็นต้น
Type K 11
มีทั้งหมด 3 ขา มีลักษณะกลม 2 ขา ส่วนตัวปลั๊กขาสายดินจะมีลักษณะเหมือนครึ่งวงกลมที่ถูกฉาบหน้าตัด นิยมใช้ใน บังกลาเทศ เซเนกัล และตูนิเซีย เป็นต้น
Type L 12
มีขากลมทั้งหมด 3 ขา แต่ความโดดเด่นคือตัวปลั๊กจะอยู่ระนาบเดียวกันหมด ประเทศที่ใช้ปลั๊กประเภท L มีมากมาย เช่น ชิลี อิตาลี และลิเบีย
Type M 13
ถูกนิยมใช้ในสิงคโปร์ และอินเดีย มีขากลมทั้งหมด 3 ขา โดยที่ 2 ขาที่อยู่ในระนาบเดียวกันจะเล็กกว่าขาสายดิน
Type N 14
มีลักษณะกรอบเต้ารับเป็นหกเหลี่ยมและมีขากลมทั้งหมด 3 ขา ซึ่งเกือบอยู่ในระนาบเดียวกัน ใกล้เคียง type J นิยมใช้ในประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ จอร์แดน และลิกเตนสไตน์ เป็นต้น
ถึงตรงนี้เซฟไทยก็มีแบบทดสอบมาให้เพื่อน ๆ ลองตอบกันสักข้อเกี่ยวกับบทความนี้
เหตุการณ์สมมติ
นางสาว บี วางแผนจะเดินทางรอบโลกกับเพื่อนทั้งหมด 10 ประเทศ ข้อใดคือสิ่งที่นางสาวบีควรเตรียมตัวในด้านอุปกรณ์ไฟฟ้า
ก. ซื้อหัวปลั๊กมาทุกประเภทแล้วค่อยไปเลือกใช้งาน
ข. ไม่ศึกษาเรื่องประเภทของปลั๊กไฟในแต่ละประเทศ ค่อยไปหาซื้อตอนถึงที่หมาย
ค. ไม่ศึกษาเรื่องประเภทของปลั๊กไฟในแต่ละประเทศ และคอยยืมของเพื่อนแทน
ง. ศึกษาเรื่องประเภทของปลั๊กไฟในแต่ละประเทศอย่างละเอียด และเลือกใช้ปลั๊กแบบ universal
เฉลย
ข้อ ง. คือคำตอบที่ถูกต้องครับ การเลือกใช้ปลั๊กแบบ universal เป็นที่นิยมไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะสะดวก แต่ก็ควรศึกษาเรื่องรายละเอียดของปลั๊กที่ซื้อมา และประเภทที่ต้องใช้อีกทีเพื่อความมั่นใจนะครับ
ข้อ ก. เป็นวิธีที่สามารถทำได้ แต่เป็นการเปลืองเงินและยังเพิ่มสัมภาระโดยใช่เหตุ
ข้อ ข. และ ค. เป็นวิธีที่ไม่ควรทำเนื่องจากการไปซื้อของเอาดาบหน้าอาจทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดได้ เช่น ประเภทที่ต้องการใช้หมด และการยืมเพื่อนก็ไม่ควรด้วยเพราะแสดงถึงความไม่เตรียมพร้อม
เพียงแค่รู้ความแตกต่างของแต่ละประเภท ต่อไปก็ไม่ต้องกังวลเวลาไปต่างประเทศอีกแล้ว
จะได้สนุกสนานตลอดทริปแบบไร้กังวล