เหตุการณ์สมมติ
นาย เอ : มาคำนวณค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ของเดือนนี้หน่อยดีกว่า
นางสาว บี : ดีเลย จะได้ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายด้วย
นาย เอ : ว่าแต่…ช่วยเดินไปดูที่มิเตอร์ให้ทีได้ไหมว่าเดือนนี้บ้านเราใช้ไฟกี่หน่วย
นางสาว บี : ได้สิ
ปรากฏว่าพอมาลบกับเดือนก่อหน้านั้นแล้วเกิดความต่างจนน่าตกใจ
เพื่อน ๆ พอเดากันได้ไหมว่าเพราะอะไร?
ถูกต้องแล้วครับ นางสาว บี อ่านมิเตอร์ไม่ตรงกับแบบของมิเตอร์ที่ควรอ่าน
แล้วต้องอ่านแบบไหน อ่านอย่างไรจึงจะถูก? เซฟไทยมีคำตอบให้ครับ!
วิธีอ่านหน้าปัดมิเตอร์
หน้าปัดมิเตอร์หลัก ๆ จะมีกรอบตัวเลขให้เห็นทั้งหมด 5 ตัว ที่บอกจำนวนหน่วยที่ได้ใช้งาน
ซึ่งเวลาจะนับก็ต้องดูว่ามิเตอร์ของเพื่อน ๆ นั้นเป็นแบบไหน
หากช่องสุดท้ายมีจุดทศนิยม หรือมีกรอบสีที่ต่างจากพวก
ก็ไม่ต้องอ่านตัวสุดท้าย หรืออ่านแค่ 4 ตัวหน้าเท่านั้น
แต่ถ้าช่องสุดท้ายไม่มีจุดทศนิยม ก็ให้อ่านทั้ง 5 ตัวเลย
หากอ่านมิเตอร์ผิดจะเกิดความต่างขนาดไหน?
ยกตัวอย่างในกรณีที่มีจุดทศนิยม นาย เอ จดมิเตอร์เดือนก่อนหน้าได้ 12345 แปลว่าจะจดจริง ๆ แค่ 4 ตัวหน้า
เป็น 1234 หน่วย เดือนต่อมา นางสาว บี ด้วยความไม่รู้ เห็นเลข 12385 ก็จดมาครบ 5 ตัวเลย
ซึ่งพอมาหักลบ 12385 – 1234 = 11,151 หน่วย ซึ่งเป็นความต่างที่ค่อนข้างสูง
หน้าปัดมิเตอร์ยังมีอะไรน่าสนใจอีกบ้าง?
นอกจากนั้นยังมี NO. ที่คอยเอามาเทียบกับบิลค่าไฟ เพื่อที่จะดูได้ถูกว่าอันไหนคือมิเตอร์ของเพื่อน ๆ รวมถึงแรงดันไฟฟ้า และเฟสของไฟที่ใช้
รู้แบบนี้แล้ว เซฟไทยหวังว่าเพื่อน ๆ จะสามารถอ่านหน้าปัดมิเตอร์ได้อย่างถูกต้องเพื่อประโยชน์ของเพื่อน ๆ นะครับ
ด้วยความปรารถนาดีจากเซฟไทย