ทำอย่างไร? เมื่อไฟกระชากบ่อย อย่าปล่อยไว้ต้องแก้ทันที!

เคยเจอไหม? สถานการณ์ไฟกระชาก ที่อยู่ ๆ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านก็ดับแบบไม่รู้สาเหตุ หรือมีอาการติด ๆ ดับ ๆ จนบางครั้งไฟก็ตัดไปเอง มาดูวิธีแก้กันเถอะ

ไฟกระชาก

SHARES

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on linkedin

ไฟกระชาก อาจเป็นหนึ่งในสถานการณ์ที่เราทุกคนมีโอกาสพบเจอได้จากการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยเฉพาะเวลาฟ้าร้อง ฟ้าผ่าและฝนตก ที่จู่ ๆ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านก็ดับแบบไม่รู้สาเหตุ รวมถึงอาการที่ติด ๆ ดับ ๆ จนบางครั้งไฟก็ตัดไปเอง ซึ่งปัญหาไฟกระชากนี้ หากปล่อยไว้อาจส่งผลอันตรายและผลเสียต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ได้อย่างคาดไม่ถึง ทางเซฟไทยจึงมีวิธีแก้ไขมาบอกแล้ว

ไฟกระชาก คืออะไร

ไฟกระชาก คืออะไร

หลายคนอาจกำลังสับสนว่าเหตุการณ์ไฟกระชากนั้นเป็นแบบไหน เพราะเราคงจะเคยได้ยินทั้งที่เรียกกันว่า ไฟตก ไฟเกิน ไฟกระชาก คำพวกนี้มีความหมายเดียวกันหรือไม่ ? เซฟไทยมาไขข้อสงสัยให้แล้ว

ไฟตก คือ แรงดันไฟฟ้าสามารถส่งมาถึงผู้ใช้ได้ต่ำกว่า 220V ทำให้กำลังการจ่ายไฟไม่เพียงพอ ส่งผลให้ไฟติดบ้างดับบ้าง สาเหตุเกิดได้ทั้งจากความต้องการใช้ไฟฟ้ามีมากกว่ากำลังการจ่ายไฟ และเหตุขัดข้องขณะซ่อมแซมระบบไฟฟ้า

ไฟเกิน คือ แรงดันไฟฟ้าที่สามารถส่งมาถึงผู้ใช้ได้มากกว่า 220V ในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น ซึ่งไม่ส่งผลกระทบที่อันตรายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านจนน่ากังวล

ไฟกระชาก คือ แรงดันไฟฟ้าที่ส่งมาถึงผู้ใช้แบบไม่เสถียรอย่างรวดเร็ว กล่าวคือ น้อยกว่า 220V บ้าง หรือ เกินกว่า 220V บ้าง ในเวลาอันสั้น ทำให้การจ่ายกระแสไฟฟ้าเกินในช่วงเวลาหนึ่ง ทั้งนี้ ไฟกระชากเกิดขึ้นได้จากทั้งการเดินสายไฟไม่เหมาะสม ระบบไม่เสถียร รวมไปถึงสภาพอากาศที่ไม่ดีก็ทำให้ไฟกระชากได้เช่นกันง

อาการไฟกระชาก

อาการไฟกระชาก สามารถสร้างความอันตรายและเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าและทรัพย์สินได้ด้วย โดยเฉพาะกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เรากำลังใช้งานอยู่และไวต่อการเปลี่ยนแปลงของแรงดันไฟฟ้าที่ไม่เสถียร หากปล่อยเอาไว้จะส่งผลต่อวงจรไฟฟ้า จนในที่สุดอาจนำไปสู่สาเหตุของเพลิงไหม้ได้เลย

ไฟกระชากส่งผ่านสิ่งใดได้บ้าง

  • สายไฟทั้งสามเส้น (Line, Neutral และ Ground)
  • สาย LAN
  • สายโทรศัพท์
  • สายเสาอากาศ และดาวเทียม
  • สายสัญญาณ AV
  • สายสัญญาณอื่น ๆ ที่ต่อเชื่อมกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

ไฟกระชากส่งผลต่อคอมพิวเตอร์อย่างไร?

คอมพิวเตอร์จะมีอุปกรณ์จ่ายไฟ หรือ Power Supply Unit (PSU) ที่คอยส่งต่อกระแสไฟให้กับชิ้นส่วนต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ ซึ่งตัว PSU มีหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจาก กระแสสลับ (AC) ขนาด 220V เป็นกระแสตรง (DC) 3V, 5V หรือ 12V จ่ายผ่านเมมบอร์ดที่เลี้ยงอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การ์ดจอ พัดลมระบายความร้อน และชิ้นส่วนอื่น ๆ หากเกิดไฟกระชากบ่อยครั้งเข้าก็คงไม่เป็นผลดีสักเท่าไหร่ เพราะจะส่งผลเสียต่อ PSU และอุปกรณ์อื่น ๆ อีกด้วย

เพราะแบบนี้…หากเกิดอาการไฟกระชากขึ้น ควรหาทางแก้ไขอย่างเร็วที่สุด ไม่ใช่แค่กับคอมพิวเตอร์แต่อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดอื่นก็มีโอกาสได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน แทนที่จะได้ใช้งานตามอายุที่ควรจะเป็น อุปกรณ์นั้นอาจเสียหายไปเลยก็ได้ ฉะนั้น เราควรมองหาแหล่งพลังงานสำรองเอาไว้ เพื่อให้จ่ายกระแสไฟได้อย่างเสถียร พร้อมช่วยจัดการระบบไฟฟ้าอย่าง ‘ระบบกันไฟกระชาก (Surge Protection)’

รับมือไฟกระชาก

วิธีรับมือไฟกระชาก ด้วย ระบบกันไฟกระชาก

ระบบกันไฟกระชาก เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเรื่องแรงดันไฟฟ้า ป้องกันแรงดันไฟฟ้าที่สูงขึ้นชั่วขณะ และควรต่อสายดินเพื่อความปลอดภัย ให้กระแสไฟวิ่งลงดินแทนที่จะไฟเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งปลั๊กไฟรุ่นใหม่ในปัจจุบันก็เริ่มมีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชาก หรือ Surge Arrester เสริมมาให้บ้างแล้ว

อุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากจะมีความแตกต่างในลักษณะการใช้งาน ซึ่งชิ้นส่วนก็จะแตกต่างกันออกไปเช่นกัน แต่จะสามารถป้องกันแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่สูงขึ้นในระยะเวลาอันรวดเร็วได้ โดยทั่วไปแล้วชิ้นส่วนที่ใช้มักจะต้องทำหน้าที่ ทำให้เกิดความต้านทานต่ำ เช่น MOV (Metal Oxide Varistor), Gas Discharge Tube (GDT) และ Silicon Avalanche Diode (SAD) เป็นต้น

เครื่องไฟสำรอง

วิธีรับมือไฟกระชาก ด้วย ‘เครื่องสำรองไฟ’

หนึ่งในอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันไฟกระชากได้คือ ‘เครื่องสำรองไฟ’ (UPS) โดยนิยมใช้ในบ้านที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายชนิด โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ หลักการทำงานของเครื่องสำรองไฟจะรับพลังงานไฟฟ้าเข้าสู่ตัวเครื่องซึ่งเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) แล้วแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) สำรองเก็บไว้ในแบตเตอรี่ และทำการจ่ายไฟให้กับคอมพิวเตอร์อีกที กระแสไฟที่จ่ายออกจากเครื่องสำรองไฟจะมีความสม่ำเสมอและปลอดภัย

 

หากเพื่อน ๆ กำลังหาวิธีจัดการกับปัญหาไฟกระชากอยู่ วิธีที่เซฟไทยนำมาบอกคงจะเป็นตัวเลือกให้เอาไปพิจารณาได้นะ เพราะเหตุการณ์อย่างไฟกระชาก ไฟตก สามารถเกิดขึ้นได้โดยที่เราไม่ทันตั้งตัว ถ้าพบว่ากำลังเผชิญกับปัญหานี้อยู่ ควรต้องเตรียมความพร้อมเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านเสียหายและเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งานด้วย

 

ที่มา: techhub

bgrimmtrading

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับคุกกี้ทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก