ติดตั้งการเดินสายไฟภายในบ้านอย่างปลอดภัย ได้มาตรฐาน

การเดินสายไฟในบ้านต้องติดตั้งและตรวจสอบให้ได้มาตรฐาน เพื่อความปลอดภัย หากเดินสายไฟผิดอาจนำไปสู่อัคคีภัยได้

เดินสายไฟภายในบ้าน

SHARES

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on linkedin

การเดินสายไฟในบ้านเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องติดตั้งและตรวจสอบให้ได้มาตรฐานที่ปลอดภัย เพราะหากเดินสายไฟผิดหรือไม่เหมาะสมต่อการใช้งานอาจนำไปสู่การเกิดอัคคีภัยได้เลย ทางเซฟไทยจึงมีเคล็ดลับการเดินสายไฟอย่างไรให้ปลอดภัยมาบอก พร้อมทริกในการใช้พิจารณารูปแบบการเดินสายไฟที่เหมาะสมกับแต่ละบ้านด้วย ไปดูกันเลย

เดินสายไฟอย่างไรให้ปลอดภัย ได้มาตรฐาน

อุปกรณ์เดินสายไฟภายในบ้าน

  1. อุปกรณ์ในการเดินสายไฟ

จุดเริ่มต้นของการเดินสายไฟที่ถูกต้องและปลอดภัยจำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่ได้มาตรฐานและเหมาะสมต่อการใช้งาน ซึ่งอุปกรณ์การเดินสายไฟมีด้วยกัน ดังนี้

  • ค้อน ใช้ตอกตะปูในงานไฟฟ้า เดินสายไฟ เช่น ค้อน หงอน ค้อนเหลี่ยมขนาดเล็ก
  • คีม ใช้ในการดัด งอ จับ ตัด ปอกสายไฟ คีมที่นิยมใช้ได้แก่ คีมปอก, คีมปากจระเข้, คีมปากจิ้งจก และคีมย้ำหัวต่อสายไฟ
  • ไขควง ใช้ขันสกรูและนอตให้ยึดติดกับวัสดุอื่น และมีไขควงวัดไฟ ใช้เช็กไฟรั่วจากเครื่องใช้ไฟฟ้า
  • หัวแร้ง ใช้ชื่อมวัสดุหรือโลหะเข้าด้วยกัน เหมาะใช้กับงานเดินสายไฟ งานซ่อม และงานประสานเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ใช้ความร้อนไม่มาก
  • สิ่ว ใช้เซาะร่องไม้ คอนกรีต ปูน หิน ให้แยกออกจากกันได้ง่ายขึ้น เพื่อทำทางเดินสายไฟ
  • สว่าน ใช้ร้อยสายเพื่อยึดอุปกรณ์ไฟฟ้า มีหลายแบบหลายขนาดตามสภาพพื้นผิว เช่น สว่านเฟือง, สว่านมือบิดหล่า และสว่านไฟฟ้า
  • เลื่อยลอ มีทั้งชนิดหยาบและละเอียด ใช้บากปากไม้เพื่อทำเดือยเข้าไม้แบบต่าง ๆ เน้นเก็บงานไม้ให้สวยงาม
  • บักเต้าตีเส้น ตีเส้นก่อนตอกตะปูเดินสายไฟฟ้า
  • เข็มขัดรัดสาย ใช้สำหรับยึดติดสายไฟกับผนังให้แน่น
  • เหล็กนำศูนย์ ใช้ตอกจุดบอกตำแหน่งก่อนใช้สว่านเจาะ

 

ประเภทการเดินสายไฟ

  1. ประเภทการเดินสายไฟ

การเดินสายไฟมีด้วยกันหลายแบบ สามารถพิจารณาตามความต้องการ เช่น ความสวยงาม ความชอบ การใช้งาน ความสะดวกในการดูแลรักษา และค่าใช้จ่าย

  • การเดินสายไฟแบบฝังผนัง เป็นการเดินสายไฟโดยนำสายไฟฟ้าไว้หลังผนัง มีความเรียบร้อยสวยงาม เดินสายไฟภายในท่อที่ติดตั้งในช่องที่เจาะผนังไว้แล้ว
    – ผนังเบา เจาะช่องเพียงบางจุดหรือวางปลั๊กเท่านั้น
    – ผนังอิฐ ต้องเจาะผนังแล้วใช้ท่อร้อยสายไฟลงในช่อง จำเป็นต้องวางแผนให้ดีก่อน

เหมาะสำหรับ บ้านที่ต้องการความสวยงาม สะอาดตา ไม่มีร่องรอยการเดินสายไฟให้เห็น และที่สำคัญมีความทนทานสูง เนื่องจากติดตั้งภายในผนัง

ข้อควรระวัง จำเป็นต้องใช้ช่างผู้ชำนาญการในการเดินสายไฟ และการซ่อมแซมเมื่อชำรุดอาจทำได้ยาก เพราะอยู่ในจุดที่มองไม่เห็น

  • การเดินสายไฟแบบเดินลอย เป็นการเดินสายไฟที่ด้านนอกหรือติดลงบนผนัง ยึดสายไฟกับผนังแล้วครอบด้วยราง
    – แบบท่อร้อยสายไฟ ทำการร้อยสายไฟในท่อโลหะหรือพลาสติก PVC การเดินสายไฟแบบนี้ช่วยป้องกันสายไฟให้ทนทาน ปลอดภัย ตรวจเช็กได้ง่าย
    – แบบตีกิ๊บ ใช้เข็มขัดยึดสายไฟเข้ากับผนัง เพื่อเชื่อมไปที่ปลั๊กไฟหรือวงจรไฟฟ้า

เหมาะสำหรับ บ้านที่มีงบประมาณจำกัด อยากได้การดูแลซ่อมแซมที่สะดวก ไม่ต้องรื้อผนัง

ข้อควรระวัง เป็นการเดินสายไฟที่แสดงร่องรอยการเดินสายให้เห็นต้องใช้ความประณีตเพื่อความสวยงาม สวิตช์ที่ติดจะลอยขึ้นมาจากผนัง

 

ประเภทสายไฟ

  1. ประเภทสายไฟ

การเดินสายไฟจะต้องรู้ประเภทสายไฟสำหรับการติดตั้ง โดยแบ่งออกเป็นสำหรับใช้กับแรงดันไฟต่ำและแรงดันไฟสูง ซึ่งตามครัวเรือน หรือที่อยู่อาศัยมักใช้แรงดันไฟต่ำ สายตัวนำทองแดงที่หุ้มฉนวนต้องมีแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 450/750 โวลต์ หรือไม่เกิน 750 โวลต์

สายไฟแรงดันต่ำ (Low Voltage Power Cable) มีลักษณะเป็นสายหุ้มฉนวน ทำจากทองแดงหรืออะลูมิเนียม เป็นตัวนำเดี่ยว แต่สายขนาดใหญ่เป็นตัวนำตีเกลียว

  • สายไฟชนิดทีเอชดับเบิลยู (THW) แรงดันไฟฟ้า 750 โวลต์ เป็นสายเดี่ยว นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เพราะสามารถใช้ในวงจรไฟฟ้า 3 เฟสได้ อุณหภูมิใช้งานที่ 75 องศาเซลเซียส ผลิตตามมาตรฐาน มอก. 11 -2531 เหมาะแก่การใช้ในงานเดินท่อร้อยสาย เดินใต้ฝ้าและในผนัง ไม่ควรฝังลงดิน
  • สายไฟชนิดวีเอเอฟ (VAF) แรงดันไฟฟ้า 300 โวลต์ นิยมใช้ตามบ้านพักในประเทศไทย มีแบบสายคู่ และสายดิน ชนิด 2 แกน หรือ 3 แกน เป็นสายแบน ตัวนำมีฉนวนหุ้มและมีเปลือกหุ้มอีกหนึ่งชั้น อุณหภูมิใช้งานที่ 70 องศาเซลเซียส เหมาะแก่การใช้เดินสายไฟแบบลอย ห้ามฝังลงดิน
  • สายไฟ VCT / VCT-G ฉนวนและเปลือกทำมาจาก PVC ตัวนำเป็นทองแดงฝอยเส้นเล็กมัดรวมกันเป็นแกน มีตั้งแต่ 1-4 แกน ส่วนสาย VCT-G เป็นสาย VCT มีสายดินอีกเส้นหนึ่ง อุณหภูมิใช้งานที่ 70 องศาเซลเซียส เหมาะแก่การใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องต่อลงดิน
  • สายไฟ NYY/NYY-G มีทั้งชนิดแกนเดียวและหลายแกน มีเปลือกหุ้มอีกหนึ่งชั้น แรงดันไฟฟ้าที่ 750 โวลต์ อุณหภูมิใช้งานที่ 70 องศาเซลเซียส เหมาะสำหรับการฝังดินโดยตรงหรือร้อยท่อ นิยมใช้ภายนอกอาคารมากกว่า
  • สายไฟ THW-f (flexible) หรือสายไฟ IEC02 สายอ่อนชนิดกลมแกนเดียว ฉนวนทำจาก PVC แรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 750 โวลต์ อุณหภูมิไม่เกิน 70 องศาเซลเซียส เหมาะเดินสายไฟภายในอุปกรณ์ไฟฟ้า ในตู้ควบคุม ร้อยท่อเดินใต้ฝ้าและในผนัง
  • สายไฟชนิดไออีซี10 (IEC10) สายชนิดกลมมีตั้งแต่ 2-4 แกน แรงดันไฟฟ้า 300/500 โวลต์ ผลิตตาม มอก.11-2553 อุณหภูมิไม่เกิน 70 องศาเซลเซียส เหมาะในการเดินสายไฟในบ้าน ใต้ฝ้าและผนัง

 

วิธีตรวจสอบการเดินสายไฟ

  1. วิธีตรวจสอบการเดินสายไฟ

สามารถตรวจสอบได้ทั้งที่มิเตอร์ สังเกตการหมุนมิเตอร์เมื่อตัดไฟทั้งหมดแล้ว ใช้ไขควงไฟฟ้าเช็กปลั๊กไฟ และเช็กเครื่องใช้ไฟฟ้าว่ามีไฟรั่วหรือไม่

การเดินสายไฟเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยป้องกันเหตุอันตรายจากไฟฟ้าได้เป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้น หากต้องการความปลอดภัยที่แม่นยำ ควรให้ช่างผู้ชำนาญการมาทำการติดตั้งเดินสายไฟ

 

ที่มา: pdcable

wazzadu

baania

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับคุกกี้ทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก