เช็กด่วน หากสายไฟหมดอายุควรเปลี่ยนใหม่ อย่าปล่อยจนสายเกินแก้

สายไฟหมดอายุเสื่อมภาพตามกาลเวลาและการใช้งานได้ เราจึงจำเป็นต้องรู้ว่าลักษณะแบบไหนเรียกว่าสายไฟหมดอายุ พร้อมข้อควรรู้ก่อนเปลี่ยนให้ถูกวิธีและได้มาตรฐาน

สายไฟหมดอายุ

SHARES

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on linkedin

อาหารยังมีวันหมดอายุ สายไฟก็เช่นกัน วันนี้ทางเซฟไทยอยากชวนทุกคนมาเช็กว่าสายไฟหมดอายุแล้วหรือยัง เพราะเมื่อมีการใช้งานอยู่ตลอดเวลาคงเป็นไปได้ยากที่สายไฟจะอยู่ในสภาพเดิม ว่าแต่ต้องเสื่อมสภาพแค่ไหนล่ะ? ถึงจะเรียกว่าสายไฟหมดอายุ ควรเปลี่ยนใหม่ได้แล้ว หากปล่อยไว้แล้วใช้ต่อไปเรื่อย ๆ อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายได้ ตามไปดูคำตอบกันได้เลย

อายุการใช้งานของสายไฟ

สายไฟโดยทั่วไปมักมีอายุการใช้งานเฉลี่ย 15-20 ปี ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของสายไฟด้วย เช่น หากมีฉนวนสายไฟที่ทำจากพลาสติก PVC อาจจะเสื่อมสภาพได้ง่าย เพราะมีตัวกระตุ้นตามสภาพแวดล้อมทั้งความร้อนและความชื้น รวมไปถึงการเดินสายไฟแบบร้อยท่อจะช่วยให้ยืดอายุสายไฟให้ใช้งานนานขึ้นถึง 30 ปีเลยทีเดียว

แม้ว่าวัสดุหรือการเดินสายไฟจะทำไว้ดีแค่ไหนก็ตาม แต่ถ้ามีการใช้งานที่หนัก สภาพแวดล้อมโดนทั้งแดด รังสียูวี ฝนอยู่บ่อย ๆ สายไฟหมดอายุก็อาจเกิดขึ้นได้เร็วขึ้นเป็น 10 ปีได้ เพราะฉะนั้นจึงควรตรวจสอบคุณภาพสายไฟเป็นประจำ หากเกิดเสียหาย ชำรุด จะได้แก้ไขอย่างทันเวลา

สายไฟหมดอายุ ดูจากอะไร

ข้อสังเกตสายไฟหมดอายุ

  1. ดูสายไฟหมดอายุจากฉนวนสายไฟภายนอก

หลายคนอาจจะคิดว่าการเช็กคุณภาพสายไฟเป็นเรื่องเทคนิคเฉพาะทาง แต่เบื้องต้นเราสามารถสังเกตด้วยวิธีง่าย ๆ ด้วยตนเองได้โดยดูว่าสายไฟมีลักษณะเปื่อย ฉีกขาด แห้งกรอบ รอยแตกร้าว รอยไหม้ หรือร่องรอยอื่น ๆ ที่แสดงถึงความไม่สมบูรณ์หรือไม่ โดยเฉพาะถ้าพบว่าสายไฟชำรุดจนเห็นถึงลวดทองแดงด้านใน แนะนำให้เปลี่ยนใหม่หรือปรึกษาช่างไฟชำนาญการมาแก้ไข ไม่ควรใช้ต่อหรือปล่อยเอาไว้นาน ส่วนถ้าเป็นสายไฟแบบร้อยสายผ่านท่อ อาจต้องพึ่งช่างไฟชำนาญมาตรวจสอบแก้ไขให้

  1. ตรวจสอบอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสายไฟเพื่อดูว่าสายไฟหมดอายุหรือไม่

จะเช็กว่าสายไฟหมดอายุจนถึงเวลาเปลี่ยนแล้วหรือยัง นอกจากจะดูที่ลักษณะของสายไฟแล้ว ยังควรเช็กอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกับสายไฟด้วย เช่น เต้ารับ สวิตช์ไฟ และมิเตอร์ไฟฟ้า

  • เต้ารับ หากพบรอยแตกร้าวหรือรู้สึกว่าเสียบปลั๊กแล้วหลวม ไม่แน่นสนิทดี ควรตรวจสอบว่ากระแสไฟเข้าทุกจุดไหม ไฟรั่วหรือเปล่า โดยสามารถใช้ไขควงเช็กไฟแตะที่บริเวณรูปลั๊ก ถ้าเสียหายควรรีบเปลี่ยนใหม่ทันที
  • สวิตช์ไฟฟ้า ถ้าปิดการใช้งานแล้วมิเตอร์ไฟฟ้ายังวิ่งอยู่ หมายความว่ามีไฟฟ้ารั่ว ควรเปลี่ยนใหม่เช่นกัน
  • มิเตอร์ไฟฟ้า สามารถเช็กได้เช่นเดียวกันว่ามีไฟฟ้ารั่วหรือไม่ ด้วยการปิดใช้งานสวิตช์ไฟฟ้าและปลั๊กไฟทุกจุดในบ้าน หากมิเตอร์ไฟยังวิ่งอยู่แปลว่าเกิดไฟฟ้ารั่ว

สาเหตุของสายไฟหมดอายุ

นอกจากอายุการใช้งานของสายไฟตามปกติแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้สายไฟหมดอายุได้อีก ไม่ว่าจะเป็น

  • ความร้อน ถ้าสายไฟต้องทนกับความร้อนเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้ฉนวนละลายหรือไหม้ได้
  • แสงแดด เนื่องจากรังสี UV จะไปกระตุ้นให้ตัวฉนวนไฟฟ้าหรือเปลือกพลาสติกที่หุ้มสายไฟเสื่อมสภาพจนกรอบแตกได้ไวกว่าเดิม ไม่ควรติดตั้งไว้ด้านนอกบ้านที่โดนแสงแดดโดยตรง

 

ห้ามใช้เทปพันสายไฟหมดอายุ

ข้อห้ามทำเมื่อสายไฟหมดอายุ

ใช้เทปพันสายไฟหมดอายุ เพราะการใช้เทปพันสายไฟไม่ใช่ตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับการแก้ไขสายไฟหมดอายุ อาจเสี่ยงอันตรายทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรหรือไฟช็อตได้ นอกจากนี้เทปพันสายไฟยังเสื่อมสภาพได้ง่ายอีกด้วย

เปลี่ยนสายไฟหมดอายุอย่างไรให้ได้มาตรฐาน

หากพบว่าสายไฟหมดอายุแล้วควรทำการเปลี่ยนใหม่ ข้อควรรู้ต่อไปนี้คือสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเพื่อการใช้งานที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน

  • เลือกใช้สายไฟที่ได้มาตรฐาน มอก.11-2553
  • เลือกใช้สายไฟให้ตรงกับการใช้งาน เนื่องจากขนาดสายไฟส่งผลต่อกระแสไฟที่จ่ายสู่เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น สายไฟ CV และสายไฟ VCT ทนความร้อนได้ถึง 90 องศาเซลเซียส จึงเหมาะกับการติดตั้งบริเวณใต้หลังคาที่มีความร้อนสูง ส่วนสายไฟที่เหมาะสำหรับการติดตั้งนอกตัวบ้านคือ สายไฟสีดำ Carbo Black เพราะช่วยป้องกันรังสี UV ได้ เป็นต้น
  • ติดตั้งสายไฟอย่างถูกต้อง ทั้งการเดินสายไฟแบบลอยติดผนังและเดินสายไฟแบบร้อยท่อ ควรระวังไม่ให้มีอะไรมากดทับสายไฟ

 

การตรวจสอบสายไฟหมดอายุเป็นประจำมีความสำคัญ หากชำรุดเสียหายก็ทำการแก้ไขหรือเปลี่ยนใหม่ให้เรียบร้อย นอกจากนี้ยังควรหมั่นตรวจสอบสายไฟและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทุก 1-2 ปี อย่างน้อย 1 ครั้ง หรือปรึกษาช่างไฟเพื่อดูแลอย่างเหมาะสม ป้องกันการเกิดปัญหาไฟฟ้าภายหลังได้

 

ที่มา : homeguru.homepro

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับคุกกี้ทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก