• 41 Views
  • October 21, 2021
  • 2 mins read

วิธีดูแลตัวเองในช่วงเปลี่ยนฤดู

ปลายฝนต้นหนาว ช่วงที่ฤดูกาลกำลังจะผลัดเปลี่ยน บางวันก็ฝนตกหนัก บางวันก็เริ่มมีลมหนาว
ถ้าไม่ดูแลร่างกายให้ดี ก็อาจเป็นไข้หวัดรับสิ้นปีก็ได้

อากาศเปลี่ยนแปลง แต่เซฟไทยห่วงใยไม่เปลี่ยนไป

จึงขอแนะนำวิธีรับมือกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อยแบบนี้ ดังนี้

1. พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย แต่ละช่วงอายุของคนต้องการการพักผ่อนที่ไม่เท่ากัน ควรดูว่าช่วงอายุของเพื่อน ๆ ต้องการการพักผ่อนกี่ชั่วโมง

2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้ร่างกาย ไม่ว่าจะออกแบบเบาหรือแบบหนัก เช่น ว่ายน้ำ วิ่ง โยคะ หรือพิลาทิส เป็นต้น

3. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และอาหารควรได้รับการปรุงสุกสะอาด เป็นเรืองที่หลายคนเผลอมองข้ามไป เพราะบางทีตอนสั่งอาหารนอกบ้านก็ลืมนึกถึงตรงนี้ไป ทางที่ดีการทำอาหารเองจะช่วยให้สามารถกำหนดวัตถุดิบและเครื่องปรุงที่ใช้ได้

4. อากาศหนาวเย็นอาจทำให้หลายคนไม่อยากอาบน้ำ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ควรที่จะรักษาสุขอนามัยอยู่ตลอดเวลา การอาบน้ำอุ่นจะช่วยคลายความหนาวได้ แต่อย่าลืมที่จะตรวจสอบระบบสายดินของเครื่องทำน้ำอุ่นด้วย เพราะสายดินมีความสำคัญต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดเป็นอย่างมาก

5. หากตากฝนมาควรรีบไปอาบน้ำใหม่ให้สะอาด ไม่ควรรอให้แห้งเอง เพราะน้ำฝนนั้นปนเปื้อนไปด้วยมลภาวะและสิ่งสกปรกที่มองไม่เห็น อาจทำให้เกิดโรคตามมาได้ นอกจากนี้ถ้าตัวเปียกหรือมือเปียกก็ไม่ควรที่จะไปจับเครื่องใช้ไฟฟ้าและปลั๊กต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางไฟฟ้า

6. หาเครื่องฟอกอากาศมาไว้ในห้องสักเครื่องจะช่วยได้ เพราะในยุคนี้ที่ไม่ว่าจะ PM 2.5 มลภาวะ และฝุ่นละอองที่มองไม่เห็นต่าง ๆ ก็มีเต็มไปหมด การหาตัวช่วยเสริมก็เป็นสิ่งที่ควรทำ แต่ควรดูประเภทและคุณสมบัติของเครื่องฟอกอากาศแต่ละประเภทให้ดี เพราะบางระบบอาจไม่เหมาะสมต่อผู้ใช้งานได้ เช่น ระบบปล่อยโอโซน

7. ดื่มน้ำตามปริมาณที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน หลยคนอาจมองข้ามไป แต่การดื่มน้ำนั้นมีประโยชน์มากมายเลยทีเดียว และน้ำที่ดื่มเข้าไปควรเป็นน้ำสะอาด หากใครใช้เครื่องกรองน้ำก็ควรที่จะทำความสะอาดและตรวจสอบสภาพอย่างสม่ำเสมอด้วยเพื่อป้องกันการเป็นแหล่งก่อเกิดเชื้อต่าง ๆ

8. หาซื้อยาสามัญประจำบ้านติดไว้ เช่น ยาลดน้ำมูก ยาลดไข้ แผ่นเจล เป็นต้น เพื่อที่ถ้าสุดท้ายแล้วเกิดไม่สบายขึ้นมาก็ยังมียาให้กินได้ทัน หรือถ้าอาการหนักมากก็ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

9. ทำร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการหาเครื่องนุ่มห่มมาสวมใส่ เพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น ภาวะตัวเย็น (Hypothermia) ทั้งนี้ควรเลือกชนิดผ้าให้เหมาะสมด้วย ถ้าใส่ผ้าขนสัตว์ก็ต้องระวังเรื่องการเกิดไฟฟ้าสถิต

10. นอกจากสุขภาพกายแล้ว ก็ควรดูแลสุขภาพใจด้วย หาเวลาว่างเพื่อผ่อนคลาย เติมความสุขให้ตัวเอง หรืออาจจะนั่งสมาธิเพื่อความสงบของจิตใจ เพราะรากฐานแรงใจที่ดีจะช่วยให้เพื่อน ๆ ทำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างง่ายขึ้นด้วย

เซฟไทยหวังว่าเพื่อน ๆ จะรักษาได้ทั้งความปลอดภัยของสุขภาพกาย ใจ และสภาพเครื่องใช้ไฟฟ้านะครับ

เซฟไทย ห่วงใยผู้ใช้ไฟเสมอมา

ที่มา :โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล

ที่มา : เซฟฮาร์ท การแพทย์ กรุ๊ปส์

ที่มา : สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

ที่มา : Bwell

ที่มา : Sanook

ที่มา : LINE TODAY