• 67 Views
  • Oct 21, 2021
  • 4 mins read

รู้หรือไม่? เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คร่าชีวิตผู้คนมากกว่าที่คิด

ปฎิเสธไม่ได้ว่าแอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่มที่เป็นที่นิยมในงานสังสรรค์ บางคนดื่มในนาน ๆ ทีช่วงเทศกาล ในขณะที่บางคนดื่มเป็นกิจวัตรเพราะความชอบ ซึ่งนอกจากจะมอบความสนุกสนานให้แก่ผู้ดื่มแล้ว แอลกอฮอล์ยังัเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการเกิดอุบัติเหตุทางจราจรด้วยเช่นกัน

เพราะยังมีปัจจัยภายนอก เช่น สภาพของยานพาหนะ สภาพถนนที่สัญจร หรือสภาพอากาศที่ไม่อำนวยต่อการเดินทาง และ ปัจจัยภายในจากตัวผู้ขับขี่เอง เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ ความประมาท หรือหลับใน เป็นต้น

 

อุบัติเหตุทางจราจรก็กลายเป็นอุบัติเหตุทางไฟฟ้าได้

 

แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสัญจรไปตามท้องถนนโดยไม่ผ่านเสาไฟฟ้าตามทาง ซึ่งการขับรถยนต์ด้วยสติสัมปชัญญะที่ไม่ครบถ้วนนั้น ก็อาจเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดได้ เช่น การชนเสาไฟฟ้า จนลามไปถึงการเกิดอุบัติเหตุทางไฟฟ้า

Dr.Tedros Adhanom ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก กล่าวว่า “มีผู้คนจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบจากการใช้แอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะเป็น ด้านความรุนแรง อาการบาดเจ็บ ด้านสุขภาพจิตใจ หรือโรคร้าย เช่น โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง”

อย่างไรก็ตามจากการเสียชีวิตทั้งหมดเพราะแอลกอฮอล์ มีถึง 28 เปอร์เซ็นที่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บ เช่น อุบัติเหตุทางจราจร

ในประเทศไทยเองก็น่าเป็นกังวลไม่ต่างกัน เพราะเมื่อวันที่ 10-14 เมษายน 2564 มีจำนวนคดีเมาแล้วขับมากถึง 3,730 จาก 3,743 คดี คิดเป็น 99.66 เปอร์เซ็น และถึงว่าจะไม่ใช่ช่วงเทศกาล การเมาแล้วขับสามารถเกิดได้ขึ้นทุกที่ ทุกเวลา หากผู้ขับขี่ขาดจิตสำนึกในการขับขี่อย่างปลอดภัย

 

มาตรการกำไล EM

กำไล EM หรือ Electronics Monitoring มักถูกนำมาใช้กับผู้กระทำผิดที่ไม่ได้อาศัยในเรือนจำ ถึงแม้จะไม่ได้อยู่ในเรือนจำแต่ผู้ที่สวมใส่กำไลนี้ก็เหมือนทุกจับตามองอยู่ตลอดเวลา ลักษณะกำไลเหมือนสายรัดข้อเท้า ซึ่งสำหรับกรณีเมาแล้วขับนั้น ศาลก็มีการสั่งให้ใส่กำไล EM เพื่อป้องกันการออกนอกเคหะสถานตามช่วงเวลาที่กำหนด และถูกพักใบอนุญาตขับขี่อีกด้วย

 

ผลกระทบทางตรงและทางอ้อม

ไม่ใช่แค่ตัวของผู้ดื่มแอลกอฮอล์เองที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำของตนเอง แต่ผู้คนรอบข้างด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น เกิดอุบัติเหตุเพราะเมาแล้วขับ อาจทำให้มีคู่กรณีอีกมากมายที่ได้รับผลกระทบไปด้วย รวมทั้งการกื่มแอลกอฮอล์สะสมเป็นเวลานานสามารถเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ที่ตรามมาได้ อาจจะไม่เห็นผลในวันสองวัน แต่จะกลายเป็นผลกระทบระยะยาวที่แอบแฝงมาโดยที่ไม่รู้ตัว เช่น โรคตับแข็ง เป็นต้น

 

ทีนี้มาลองทำแบบทดสอบกันดีกว่าว่าเพื่อน ๆ มีความเข้าใจในข้อควรปฎิบัติเวลาดื่มแอลกอฮอล์หรือไม่

 

คำถาม

นาย ก ไปร่วมสังสรรค์ในงานปาร์ตี้แห่งหนึ่งโดยขับรถยนต์ส่วนตัวไป หลังงานเลิกนาย ก มีอาการมึนเมาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไป นาย ก ควรทำอย่างไร?

ก. ฝืนขับรถกลับโดยใช้ทางเลี่ยงด่านตรวจ
ข. ให้เพื่อนที่มีอาการมึนเมาน้อยกว่าตนมาขับรถให้
ค. เรียกใช้บริการคนขับรถเพื่อที่ตนจะได้ไม่ต้องขับ
ง. นั่งพักสัก 10 นาทีแล้วค่อยขับรถ

เฉลย

ข้อ ค. คือคำตอบที่ถูกต้องครับ เรียกใช้บริการคนขับรถเพื่อที่ตนจะได้ไม่ต้องขับ ในกรณีที่ดื่มแอลกอฮอล์ไปก็ไม่ควรที่จะขับรถเลยแม้แต่น้อย เพราะถ้าเกิดอุบัติเหตุชนเสาไฟฟ้าขึ้นมา สายไฟความแรงสูงหรือแม้แต่หม้อแปลงอาจะเป็นชนวนให้เกิดอุบัติเหตุที่บานปลายกว่านี้ได้

 

รู้แบบนี้แล้ว เซฟไทยก็อยากให้เพื่อน ๆ เพิ่มความระมัดระวังในการใช้ชีวิตกันนะครับ

ดื่มไม่ขับ กลับบ้านปลอดภัย เซฟไทยเป็นห่วงผู้ใช้ไฟทุกคนนะครับ

ที่มา : PAN AMERICAN HEALTH ORGANIZATION (PAHO)

ที่มา : แนวหน้า