เหตุการณ์สมมติ
‘เพล้ง!’ ขณะที่นางสาว บี กำลังเปลี่ยนหลอดไฟ อยู่ ๆ หลอดไฟที่ถืออยู่ดันลื่นหลุดมือตกลงมาแตก ถ้าเพื่อน ๆ เป็นนางสาว บี เพื่อน ๆ จะรับมือกับเหตุการณ์นี้อย่างไร?
ก. รีบเก็บเศษหลอดไฟด้วยมือเปล่า
ข. รีบกวาดเศษหลอดไฟด้วยไม้กวาด
ค. ไม่ใช่ทั้งข้อ ก. และ ข.
ถ้าเพื่อน ๆ เลือกตอบข้อก. และ ข. เซฟไทยขอแนะนำให้เพื่อน ๆ อ่านบทความนี้เพื่อที่จะได้รู้วิธีรับมือกับหลอดไฟแตก ที่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ไม่บ่อย แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้วก็ควรที่จะรับมือให้ได้ อาจจะเกิดขึ้นได้จาก การจับหลอดไฟด้วยถุงมือผ้าทำให้หลุดมือ หรือการหมุนใส่ไม่แน่น เป็นต้น
เซฟไทยจะมาบอกวิธีรับมือ เมื่อเกิดหลอดไฟแตกจะได้ไม่ตื่นตระหนก
ซึ่งเซฟไทยจะขอยกตัวอย่างในกรณีที่เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent) ที่มีสารปรอทและอาร์กอนอยู่
หลาย ๆ คนอาจเริ่มกังวลแต่ คุณ ดุสิต สุขสวัสดิ์ วิศวรกรรมไฟฟ้า สถาบันฯ พระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง กล่าวว่า สารปรอทมีอันตรายจริง แต่ต้องมีปริมาณถึงค่านึงถึงจะทำอันตรายได้
ในขณะที่ ดร.ธิดารัตน์ บุญศรี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ม.พระจอมเกล้าฯ ธนบุรี กล่าวว่า ซากของหลอดฟลูออเรสเซนต์ ไม่ได้เป็นอันตราย
แต่ถึงอย่างนั้นเพื่อน ๆ ก็ควรรู้วิธีรับมือ ดังนี้
๐ นำเด็ก คนชรา และสัตว์เลี้ยงออกจากบริเวณดังกล่าวก่อน เพื่อกันการเกิดอุบัติเหตุ
๐ ระบายอากาศภายในห้องโดยการเปิดประตูและหน้าต่างไว้ทิังไว้อย่างน้อย 15 นาที
๐ หาถุงมือมาสวมอีกชั้นนึง นำกระดาษหนังสือพิมพ์หรือผ้ามาห่อเศษแก้วไว้
๐ ระมัดระวังเศษแก้วที่มองไม่เห็นแต่สัมผัสได้ สามารถเก็บรายละเอียดด้วยการนำก้อนดินน้ำมันหรือเทปใสมาใช้
อ่านมาถึงตรงนี้ เพื่อน ๆ ก็จะทราบได้ว่าหากหลอดไฟแตก ไม่ควรที่จะเก็บเศษหลอดไฟด้วยมือเปล่าหรือกวาดเศษหลอดไฟด้วยไม้กวาด เพราะอาจได้รับบาดเจ็บและเก็บเศษที่กระจายได้ไม่หมด
เพียงเท่านี้ เพื่อน ๆ ก็สามารถรับมือกับเหตุการณ์หลอดไฟแตกได้แล้วนะครับ
อีกอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือการมีสติหากเกิดเหตุไม่คาดคิดขึ้นนะครับ
ด้วยความห่วงใยจากเซฟไทย